วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

1.การวิเคราะห์หลักสูตร คือ วามทันสมัยในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน อุปกรณ์ที่ช่วยเสริมไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สองสิ่งนี้นับว่ามีอิทธิพลต่อการศึกษาเพราะเป็นแหล่งคนหาข้อมูลสำคัญๆที่เป็นแหล่งที่หาได้ง่ายที่สุดและใกล้ตัวมากที่สุด
ในด้านเนื้อหาของหลักสูตรเห็นได้ว่ามีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับนักเรียนมากที่สุดและเพื่อให้เข้ากับสถานศึกษาด้วยเพราะบางสถานศึกษามีจำนวนของครูผู้สอนที่ไม่เพียงพอจึงทำให้บางวิชาไม่ได้เรียนหรือได้เรียนน้อยกว่าวิชาอื่นๆ
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน คือ เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม
เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี
ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบท
และเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้นนับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะ
นำมาใช้ในการสอน 
     3. การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย คือ การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
  การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น
 เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล  ได้แก่  วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน
            4. การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน เป็นการสอนโดยนำสื่อต่างๆและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีความทันสมัยในกระบวนการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากสื่อมากขึ้น
            5. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน
- การวัดเป็นกระบวนการในการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆในเชิงปริมาณอย่างเป็นระบบ
- การประเมินผลนำผลที่ได้จากการวัดมาใช้ในการตัดสินใจโดยการนำผลการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในด้านพัฒนาการต่างๆของผู้เรียน
6. การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ จะทำให้ผู้ประเมินรู้ว่าผลการเรียนของเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดและจะได้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะรับและเข้าใจเรื่องที่เรียนเพียงใดจะได้พัฒนาผู้เรียนอย่างถูกต้อง
7. การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู

      ตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่
กลุ่มสาระการเรียนรู้     สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม       ชั้น     มัธยมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่     2    ปีการศึกษา    2551   ชื่อวิชา    สังคมศึกษา   ศาสนาและวัฒนธรรม  5  
( 31101 )
หน่วยการเรียนรู้ที่    1    เรื่อง     วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    2    จำนวน    3    ชั่วโมง   
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน  4.1  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจวิธีการสืบค้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และสามารถจำแนกยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เพื่อสรุปถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

2. สาระการเรียนรู้
            1. ความหมาย   ลักษณะ    ประเภทและความสำคัญของหลักฐานทาง           ประวัติศาสตร์ไทย
            2.  ความหมาย  ความสำคัญ  และขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
            3.  ตัวอย่างการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
            4.  การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
            3.1  จุดประสงค์ปลายทาง
            สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
            3.2  จุดประสงค์นำทาง
            1. จำแนกประเภทของหลักฐาน และประเมินคุณค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้
2.วิเคราะห์  เปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้
3.รู้และเข้าใจความหมาย ความสำคัญ  และขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
            4.รู้จักวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
4. เนื้อหาสาระ
            วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการ หรือขั้นตอนที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตให้มีความสมบูรณ์  น่าเชื่อถือ  ใกล้เคียงกับความจริง  โดยอาศัยจากหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  ผ่านการรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์และประเมินคุณค่าทางหลักฐาน  เลือกสรรและจัดหาความสัมพันธ์ของข้อมูลสุดท้ายหรือการเรียบเรียงและนำเสนอ

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่  1
            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                        1. ครูนำนักเรียนสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เดิม  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบ        คำถามที่อาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง
                        2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                        3. ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนที่ต้องการให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย  ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ได้
ขั้นสอน
                        4. อธิบายถึงความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์   หลักเกณฑ์การจำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์แบบสากล
                        5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยให้นักเรียนศึกษาในเรื่อง
                               5.1 ลักษณะของหลักฐาน 
                                     -   หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                    -   หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                               5.2 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
                                     -   หลักฐานชั้นต้น ( หลักฐานปฐมภูมิ )
                                      -   หลักฐานชั้นรอง ( หลักฐานทุติยภูมิ )
                        โดยให้นักเรียนศึกษาจากหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ โดยให้นักเรียนทำเป็นแผนผังความคิด  โดยทำให้มีความน่าสนใจ  กำหนดเวลา 10 นาที
            6. ให้ตัวแทนนักเรียนในแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง
            7. ครูอธิบายเพิ่มเติมจากที่นักเรียนออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตน
ขั้นสรุป
            8. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาสรุปเนื้อหาที่เรียน

ชั่วโมงที่  2
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1. ครูนำสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว  และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบคำถามที่ผิดบ้างถูกบ้าง
ขั้นสอน
            2. ครูอธิบายถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์  ความหมาย  ความสำคัญ  และขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
            3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ  5  คน  ศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์จากหนังสือประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสรุปเป็นแผนผังความคิด
            4. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอแผนผังความคิดของกลุ่มตนเอง
            5. ครูสรุปเพิ่มเติมให้กับนักเรียนอีกครั้ง
            6. ครูสั่งให้นักเรียนไปเตรียมหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากลุ่มล่ะ 1 ชิ้น
ขั้นสรุป
            7. ครูให้ตัวแทนนักเรียนสรุปเนื้อหาที่เรียน

ชั่วโมงที่           3
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปในคาบที่แล้ว
ขั้นสอน
            2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มล่ะ 5 คน  ให้นักเรียนศึกษาหลักฐานที่เตรียมมาจากที่ครูสั่งในคาบที่แล้ว  โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ครูสอนในคาบที่แล้ว  โดยกำหนดเวลา  15  นาที
            3. ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงานในการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนนำมา 
            4. ครูช่วยเสนอแนะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาหลักฐานให้นักเรียนอีกครั้ง
ขั้นสรุป
            5. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
            6. ครูให้ตัวแทนนักเรียนกล่าวสรุปอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น