วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติ


นางสาวสุดารัตน์ ศักดิ์สูง
ชื่อเล่น   เมย์
สีที่ชอบ  สีฟ้า สีเขียวอ่อน

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนรัษฎา     อำเภอรัษฎา   จังหวัดตรัง

  ปรัชญา
มีวินัย ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน พากเพียร อดทน

กิจกรรมที่ 2


ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา         ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการ
ทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย

           กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol)
 บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor
จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
            2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
            2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
            2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
            2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

            2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
            2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
           2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)

ทฤษฎีของ อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การสรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
                    1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                    2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                    4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

                             
                                  สรุปจากการอ่าน
   ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี
จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา

ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
     1 หลักการทำงานเฉพาะทาง

     2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
     3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา

     4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล
     5 การสื่อสารแนวดิ่ง
     6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด
     7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ
                         ทฤษฎี   อูชิ
     องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ ต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
            
   อ้างอิง
   ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1

การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
ห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
 1. ความสะอาด ความปลอดภัย
 2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3.ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนาม
5. เครื่องเล่นความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อ
6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ