วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

           
วัฒนธรรมองค์การ (organizational culture) หมายถึง ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรอื่นๆ 
ดังนี้ วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นฐานคิดเป็นเป้าหมาย เป็นเครื่องมือที่บอกให้สมาชิกในองค์การทราบว่าการกระทำแบบใดดีหรือไม่ดี เป็นทิศทาง ในการตัดสินใจ และหลอกรวมสมาชิก ในองค์การโดยการใช้ภาษาเดียวกัน การกำหนดการเป็นคนในและคนนอกองค์การ กำหนดอำนาจและฐานะ พัฒนาแนวคิด (norm) หรือบรรทัดฐานความคิดที่กำหนดความสัมพันธ์ในกลุ่มนั้นกำหนดการให้รางวัลและการลงโทษเพื่อให้สมาชิกมีทิศทางเดียวกัน และอธิบายสิ่งที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจได้
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
1) The organization’s relationship to its environment  คือ ความเชื่อในเรื่องความสัมพันธ์ขององค์การกับธรรมชาติ
2) The nature of human activity, The nature of reality and truth คือ ความเชื่อในเรื่องการกระทำของมนุษย์ตามธรรมชาติ และความเชื่อในเรื่อง ความเป็นจริงของธรรมชาติ เช่น
                        - เชื่อว่ามนุษย์ควบคุมธรรมชาติได้
                        - เชื่อว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่มนุษย์อยู่ใต้ธรรมชาติ
                        - เชื่อว่าธรรมชาติและมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้
            3) The nature of time คือ ความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของเวลา เช่น
                        - เชื่อในปัจจุบัน (จะมุ่งเน้นการทำวันนี้ให้ดีที่สุด)
                        - เชื่อในอดีต (จะมุ่งถึงสิ่งที่ทำมาในอดีต ที่ทำให้เกิดผลกำไรในปัจจุบัน)
                        - เชื่อในอนาคต (จะนำการวางแผนมาใช้ เช่น พรุ่งนี้จะทำอะไร)
            4) The nature of human nature คือ ความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ เช่น
                        - เชื่อว่าโดยพื้นฐานมนุษย์เป็นคนดี (การควบคุมจะน้อย)
                        - เชื่อว่าโดยพื้นฐานมนุษย์เป็นคนเลว (จะกำหนดวิธีการควบคุมมาก)
            5) The nature of human relationships คือ ความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของความสัมพันธ์ของมนุษย์ เช่น
- เชื่อในปัจเจกบุคคล ทุกคนมีอิสระ (จะให้อิสระในการทำงานมาก)
                        - เชื่อในการอยู่ร่วมกัน (จะทำงานเป็นทีม, ประเมินผลงานโดยรวม)
                        - เชื่อว่าฟ้าอยู่เหนือ (จะเน้นการเชื่อฟังคำสั่ง)
                        - เชื่อว่าทุกคนต้องช่วยเหลือตนเอง (จะประเมินผลงานเป็นรายบุคคล)
                        - เชื่อว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วม (จะให้ความสำคัญในความคิดของพนักงาน)
            6) Homogeneity versus diversity คือ ความเชื่อในความเหมือนหรือความแตกต่าง เช่น
                        - เชื่อว่ากลุ่มงานที่ดีต้องมีความคิดที่เหมือนกัน
                        - เชื่อว่ากลุ่มงานที่ดีต้องมีความคิดที่แตกต่างกัน
                        - เชื่อในความเป็นคนนอก คนในขององค์การ
            การพัฒนาองค์การ
               การพัฒนาองค์การสามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น ความพยายามเปลี่ยนแปลง องค์การอย่างมีแบบแผนมีการการวิเคราะห์ปัญหา/วางแผนยุทธศาสตร์และใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือการพัฒนาระบบโดยมีส่วนร่วมทั้งองค์การเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงลงสู่ระดับล่างขององค์การโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การดังแนวคิดของบุคคลต่อไปนี้
          Wendul L. Irench และ Ceci H. Bell ได้ให้ความหมายการพัฒนาองค์การไว้ว่า เป็นเรื่องของการใช้ความ
      พยายามในระยะยาวที่จะแก้ไขปัญหาภายในองค์การและการฟื้นฟูองค์การโดยจะดำเนินการในส่วนของวัฒนธรรมองค์การโดยเฉพาะทีมงานบนรากฐานแห่งความร่วมมือแต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากที่ปรึกษาและใช้ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์รวมทั้งการวิจัยและการปฏิบัติเป็นหลัก
          Jack K. Fordye และ Reymond Well ได้ให้ความหมายการพัฒนาองค์การไว้ว่า เป็นวิธีการมุ่งที่จะเอาพลังความสามารถของมนุษย์ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งขององค์การ  
       การพัฒนาองค์การจะสำเร็จได้ถ้าองค์การมีแผนและใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น เรื่องการจูงใจ เรื่องอำนาจ เรื่องการสื่อสาร เรื่องความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์การ การแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มหรือเรื่องของการขจัดความขัดแย้ง

          กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
    กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงและวัฒนธรรมมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ
     กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงแต่วัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์(Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ
      กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำและวัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงานเกิดวัฒนธรรมย่อย ๆ
     กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำแต่วัฒนธรรมองค์การมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ

           แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
      วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น